หุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Robot)
ประเภททางด้าน IT ย่อย : PeopleSoft

โครงสร้างของหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้จะประกอบไปด้วยกลไกที่ใช้สำหรับขับเคลื่อนตัวหุ่นยนต์ไปยังบริเวณสถานที่ทำงานที่ต้องการ เช่น การขับเคลื่อนด้วยล้อหมุน การขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน หรือกลไกที่มีลักษณะคล้ายกับขา ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์นำเอาหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น การใช้ยานขนส่งลำเลียงแบบอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles, AGV) เพื่อทำการขนส่งลำเลียงชิ้นส่วนไปยังสถานีการผลิตต่างๆ หรือนำไปทำการจัดเก็บในคลังจัดเก็บสินค้าต่อไป
จุดเด่น : หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปยังบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานที่ต้องการได้
: สามารถประยุกต์ไปใช้ในงานซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์จากระยะทางไกล เช่น ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์กู้ภัย หรือทำหน้าที่ในการเก็บกู้วัตถุระเบิดได้
สำหรับการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้มักใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- การควบคุมด้วยมนุษย์จากระยะทางไกล (Remote control) วิธีการนี้มนุษย์จะควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ผ่านทางสายสัญญาณ ผ่านทางคลื่นความถี่วิทยุ หรือสัญญาณจากดาวเทียม
- การควบคุมการทำงานด้วยระบบนำทาง เช่น การใช้แถบนำแสง หรือราง
- การควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automatic control) หรือการควบคุมการทำงานด้วยตนเอง (Autonomous control) วิธีการนี้หุ่นยนต์จะเกิดการทำงานตามเงื่อนไข หรือข้อกำหนดที่ถูกเขียนเอาไว้ในโปรแกรม